14/1/2562 22:12:00

Guideline ท้องร่วงในไทย ทางสมาคมกำลังจัดทำอยู่ค่ะ คาดว่าจะได้เผยแพร่กันในเร็วๆนี้แน่นอนค่ะ

ถ้าเจอผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอุจจาระร่วง อาเจียน

1. ควรประเมินภาวะการขาดน้ำ mild, moderate, severe (รายละเอียดตาม reference )   ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำที่รุนแรง, ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน อาจจะพิจารณารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีการขาดน้ำไม่รุนแรงมากพิจารณาให้สารน้ำทดแทนทางปาก

2. เรื่องการสงตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง รับเข้าการรักษาในโรงพยาบาล อาจจะพิจารณาตรวจระดับ electrolyte 

อาจจะพิจารณาตรวจอุจจาระด้วย หากมีถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด 

14/1/2562 22:48:00

. การรักษา

3.1 ให้สารน้ำทางปาก ORS ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำน้อย ปานกลาง โดยพิจารณาให้น้ำเกลือแร่ 10 ml/ kg/ อุจจาระ 1 ครั้งสูงสุด 240 ml หรือ 1-2 ml/kg/ต่ออาเจียน 1 ครั้ง หากมีภาวะที่ขาดน้ำรุนแรง หรืออาเจียนมาก ไม่สามารถรับสารน้ำทางปากได้ ต้องพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดแทน

3.2 ให้อาหารตามวัยที่ย่อยง่ายได้เลยหลังจากที่รักษาภาวะการขาดน้ำใน 4-6 ชั่วโมงแรก  ในทารกที่กินนแม่ให้ทานนมแม่ต่อไป ในทาารกที่ทานนมผสมไม่แนะนำให้เจือจางนม

สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ไม่ได้ทานนมแม่ที่มีอาการรุ่นแรง จนต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล อาจแนะนำนมผสมสูตรปราศจากแล็กโทส

3.3 กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษา

- ยารักษาอุจจาระร่วง ยาที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ Rocecadotril, smectite, probiotic (Lactobacillus GG, Sacchalomyces boulargii, L. reuterii)

- ยารักษาอาการอาเจียน ได้แก้ Ondansetron,domeridone, Metocloramide 

-ยาปฏิชีวนะ

แนะนำให้ใช้ในการติดเชื้อ Shigella,  Campyrobacter, Vibrio chorela, Entameaba Histolytia

ส่วนเชื้อ Salmonella แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ เด็กที่อายุนอ้ยกว่า 3 เดือน, เด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ, ไม่มีม้าม, ได้รับยากดภูมิ และในกรณที่มีการติดเชื้อ Salmonella นอกทางเดินอาหาร เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระดูก

Clostidium difficile แนะนำให้ยาปฏิชีวนะในกรณีทีมีอาการปานกลางหรือรุนแรง

ชนิดและระยะเวลาของยาปฏิชีวนะ ดูใน reference

หาก  guideline โรคท้องร่วงในเด็กไทย เสร็จแล้ว Admin จะรีบนำมาเผยแพร่ใน web และ facebook ของสมาคมนะคะ 

ESPGHAN/ESPID Evidence-based Guidelines for the Management of Acute Gastroenteritis in Children in Europe. Update 2014 - J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2014; 59(1):132-52