Home Committee News & Events Gallery Q & A Contact Us
 
   
Publications | Education | Member Zone  
News & Events
 
 

หลักเกณฑ์การให้ทุนเพื่อเสนอผลงานวิจัย ณ ต่างประเทศ

สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ

ตามที่สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกด้านวิจัย จึงเห็นสมควรที่จะสนับสนุนการไปเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน

1.1 เป็นสมาชิกสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ อย่างน้อย 1 ปี

1.2 เป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ ที่กำลังศึกษาอยู่หรือกุมารแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

1.3 อายุไม่เกิน 45 ปี

1.4 ไม่ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับในปีที่ผ่านมา

1.5 เป็นเจ้าของผลงานการวิจัยนั้น (first author ใน abstract)

1.6 มีหนังสือ/หลักฐานตอบรับการเสนอผลงานวิจัยในการประชุมที่ระบุไว้ (ส่งภายหลังได้)

2. วิธีการขอทุน

 ผู้สนใจจะขอรับทุนให้ส่งเอกสารประกอบการพิจารณาจำนวน 1 ชุด ที่มีรายละเอียดดังนี้

2.1 แบบเสนอขอรับทุน

2.2 บทคัดย่องานวิจัยที่นำเสนอ

2.3 หนังสือ/หลักฐานตอบรับการเสนอผลงานวิจัยในการประชุม (ส่งภายหลังได้)

2.4 ค่าลงทะเบียนการประชุม

2.5 แหล่งทุนสนับสนุนอื่น และจำนวนเงินหรือรายละเอียดที่ได้รับการสนับสนุน หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นให้ระบุว่า “ไม่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่น”

ผู้สนใจสามารถส่งแบบเสนอเพื่อขอรับการพิจารณามายัง

สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ

สำนักงานชั่วคราว : สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี         

                            270 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-201-1446 โทรสาร 02-201-1446

                            หรือทาง E-mail: [email protected]

    ทั้งนี้ผู้ขอรับทุนต้องดำเนินการ และเสนอเรื่องเพื่อขอรับการพิจารณาต่อสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ ภายในวันที่ 15 มีนาคม ของปีนั้น หากรอบแรกไม่มีการอนุมัติทุนจะมีการเปิดรับสมัครขอทุนในรอบที่ 2 โดยต้องส่งใบสมัครภายในวันที่ 30 มิถุนายน

3. เกณฑ์การพิจารณาให้ทุน

คณะกรรมการบริหารสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินการให้ทุนโดยพิจารณาจากคุณภาพของงานวิจัย ความเหมาะสมของผู้ขอรับทุน และลักษณะการนำเสนอผลงาน (oral presentation หรือ poster presentation) และการได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ ทั้งนี้ผลการตัดสินของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับถือเป็นที่สิ้นสุด

4. รายชื่อการประชุมวิชาการต่างประเทศที่คณะกรรมการสนับสนุน

  1. World Congress of Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition (WCPGHAN)
  2. Asian Pan-Pacific Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition (APPSPGHAN)
  3. European Society for Paediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition (ESPGHAN)
  4. North American Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition (NASPGHAN)
  5. Federation of International Societies of Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition (FISPGHAN)
  6. Digestive disease week (DDW)
  7. American Association for the Study of Liver Diseases (AASLD)
  8. European Association for The Study of The Liver (EASL)
  9. United European Gastroenterology Week (UEGW)

5. การสนับสนุน

ผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนเฉพาะค่าลงทะเบียนการประชุมรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 50,000 บาท

6. จำนวนทุน

กำหนดให้ปีละ 1 ทุน:ซึ่งจะพิจารณาตามเกณฑ์พิจารณาให้ทุนตามข้อ 3 กรณีที่มีผู้สมัครขอรับทุนจำนวนหลายคนให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ

7. เงื่อนไขหลังเสร็จสิ้นการประชุม

7.1 ผู้รับทุนต้องส่งหลักฐาน ใบเสร็จรับเงินฉบับจริงที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ให้กับสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ ภายใน 30 วันหลังกลับจากการประชุม

7.2 ผู้รับทุนต้องส่งบทคัดย่อ งานวิจัยในการประชุมดังกล่าวให้สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดการประชุมเพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกโดยผ่านทาง website ของชมรม

8. แบบเสนอขอรับทุน

สามารถ Download แบบเสนอขอรับทุนจาก website ของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ

แก้ไข ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

[ย้อนกลับ]
1
 
 
 
 
 
บทความใหม่

A 6-week-old male infant with abdominal distension



นพ.กอบพงศ์ พลับจาง
พญ.กันติชา ฉัตรเพิ่มพร
รศ.ดร.พญ.พลิตถิยา สินธุเสก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

A 13-year-old boy with chronic anemia



นพ.คริษฐ์ เพ็งสะและ
พญ.วีวิกา บุญวงษ์
ผศ.พญ.ฉัตต์มณี เลิศอุดมผลวณิช 
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แนวทางเวชปฏิบัติโรคตับคั่งไขมัน 2566

โรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก

อ.นพ. สิทธิโชค ประจวบธัญชาติ
(จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
"

การดูแลและป้องกันโรคท้องผูกในเด็ก

ศ.เกียรติคุณ นพ. เสกสิต โอสภากุล
(จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
"

ตัวเหลืองในทารก...สีอุจจาระสำคัญอย่างไร

ผศ. พญ. ฉัตต์มณี เลิศอุดมผลวณิช
(จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
"

การย่อยแลกโทสบกพร่อง

อ.พญ. ภนิดา แสวงศักดิ์
(จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
"

โรคกรดไหลย้อนในเด็ก

อ. พญ. กิตติยา เศรษฐไกรสิงห์
(จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
"

A 2-year-old girl with abdominal pain (spontaneous ruptured of choledochal cyst)



รศ.พิเศษ. ภิเศก ยิ้มแย้ม
รพ. ศูนย์ขอนแก่น

A  5-year-old girl with dysphagia



พญ.สีวลี สีดาฟอง
พญ.บุญญาณุฬักษ์ สีหาคลัง
ผศ.พญ.ฉัตต์มณี เลิศอุดมผลวณิช
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 
คณะแพทยศาสตร์ 
โรงพยาบาลรามาธิบดี

Rectal Bleeding



โดย เติมพงศ์ ดําริห์ศิลป์

ลำไส้กลืนกัน



พญ. ศิวพร แสงโสมแจ่ม

A 11-year-old girl with ascites



พญ. ภาวิณี ชิรปัญญานนท์
อ. นพ. สิวโรจน์ ขนอม
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง



รศ.นพ.ณัฐพงษ์ อัครผล

แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาเด็กท้องผูกไร้โรคทางกาย
พ.ศ.2565 (Clinical Practice Guideline for Functional Constipation) 



สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับแห่งประเทศไทย

 
Education and Resources
 
 
 
Member Zone
username
password
 
 
 
   
   
 
 
 
 
 
 
สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับแห่งประเทศไทย
Thai Society of Pediatric Gastroenterology and Hepatology
สำนักงาน: สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารภาควิชากุมารศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทร 02-201-1446 โทรสาร 02-201-1446
 
   
  MAP